วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Chariot of fire เกียรติยศแห่งชัยชนะ


---  Chariot of fire(1981) เกียรติยศแห่งชัยชนะ ---


เพลงเก่า- แต่สุด ฟิน! จากภาพยนตร์เก่า แต่เก๋า! "Chariot of fire (1981)" เพลง Original ประพันธ์ดนตรีโดย Vangelis ...(เพลงที่ได้ถูกนำมาใช้พิธีเปิดโอลิมปิก 2012)

ย้อนกลับไปเมื่อปี 1924 สองยอดลมกรดของทีมสหราชอาณาจักร ได้สร้างตำนานแห่งการพิสูจน์ตัวเองบนลู่วิ่งในโอลิมปิกฤดูร้อน ซึ่งจัดที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สองวีรบุรุษแห่งแดนผู้ดีในครั้งนั้นมีนามว่า  "แฮโรลด์ อับราฮัมส์" เจ้าของเหรียญทองประเภท 100 เมตร สุดท้ายขึ้นเป็นสมาชิกอาวุโสสมาคมกรีฑาอังกฤษ สิ้นใจปี1978 ...และ "เอริค ลิดเดลล์" ผู้พิชิตเหรียญทองประเภท 400 เมตร แล้วผันตัวเอง ไปเป็นมิชชันนารี สิ้นใจที่เมืองจีน ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2

   57 ปีต่อมา ตำนานของยอดนักวิ่งทั้งสอง ได้ถูกถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์ และกลายมาเป็นอีกหนึ่งตำนานของโลกเซลลูลอยด์ด้วยเกียรติยศระดับรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ภายใต้ชื่อว่า Chariots of Fire ภาพยนตร์ที่มีชื่อภาษาไทยว่า "เกียรติยศแห่งชัยชนะ" เป็นผลงานกำกับของ ฮิวจ์ ฮัดสัน ผู้กำกับชาวอังกฤษ ที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับแรงบันดาลใจของทั้ง อับราฮัมส์ และ ลิดเดลล์ ซึ่งต่างต้องการพิชิตโลกด้วยฝีเท้าของตน โดยไม่หวังเกียรติยศชื่อเสียงเงินทองใดๆ แต่ต้องการพิสูจน์ความสามารถของตัวเองให้โลกได้รับรู้ และจารึกชื่อว่าเป็นมนุษย์ที่เร็วที่สุดในยุคสมัยของตนเองไปตลอดกาล

   Chariots of Fire อาจจัดว่าเป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับกีฬาโอลิมปิก แต่เนื้อแท้ของงานชิ้นนี้คือการนำเสนอเรื่องราวของการพิสูจน์ตน มากกว่าการเอาชนะคู่ต่อสู้ในเกมกีฬา ดังนั้นภาพยนตร์เรื่องนี้จึงว่าด้วยการเดินทางของตัวเอกสู่เป้าหมาย โดยที่ไม่มีอุปสรรคเป็นตัวร้ายที่คอยแย่งชิงชัยชนะ แต่อุปสรรคอยู่ในจิตใจของตัวเองที่จะอุทิศตนเพื่อสู้ให้ถึงที่สุดหรือไม่ ภาพของน้ำใจนักกีฬาจึงถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะไม่มีความเป็นศัตรูหรือคู่แข่งเลยในระหว่างนักวิ่งด้วยกัน

ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมีฉากอันประณีตสวยงามทั้งบรรยากาศในอังกฤษและสก็อตแลนด์ รวมถึงฉากการแข่งโอลิมปิก ที่เก็บรายละเอียดทุกอย่างของกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติเมื่อเกือบ 100 ปีก่อนได้อย่างน่าประทับใจ นอกจากนั้นแล้ว องค์ประกอบอีกอย่างที่กลายเป็นอมตะไปพร้อมกับตัวหนัง ก็คือดนตรีประกอบ ซึ่งเป็นผลงานของ "แวนเจลิส"(Vangelis) นักประพันธ์ดนตรีชาวกรีก ซึ่งช่วยขับเน้นให้ตัวหนังทรงพลังด้วยความมุ่งมั่น และความศรัทธาในพรสวรรค์ของตัวละครออกมาได้อย่าง สุดฟิน สมบูรณ์แบบ

 
สำหรับเกียรติยศสูงสุดของภาพยนตร์ชิ้นนี้ ก็คือการชนะรางวัล อคาเดมี อวอร์ดส์ (ออสการ์) ประจำปี 1981 ได้ถึง 4 สาขาด้วยกัน ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม, บทดั้งเดิมยอดเยี่ยม และออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม รวมถึงยังเข้าชิงอีก 3 สาขา ได้แก่ ผู้กำกับยอดเยี่ยม, นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (เอียน โฮล์ม ในบท มุสซาบินี่) และ ตัดต่อภาพยอดเยี่ยม

   Chariots of Fire จึงเป็นภาพยนตร์ที่แสดงภาพของกีฬาที่ยิ่งใหญ่กว่าการเอาชนะคู่แข่งในสนาม หรือ การแสวงหาชื่อเสียงเงินทอง แต่เป็นการพิสูจน์ความสามารถของตนเองให้โลกได้รับรู้ และการเอาชนะต่ออุปสรรคต่างๆนานาเพื่อจุดหมายที่ใฝ่ฝันนั้น มันคือเกียรติยศแห่งชัยชนะอันแท้จริง

   "นี่คือภาพยนตร์เกี่ยวกับกีฬาโอลิมปิก ที่มีเนื้อหามากกว่าการกีฬา และมีคุณค่ามากกว่าเป็นแค่ภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงเท่านั้นแต่เป็นงานที่สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนที่ได้รับชม และเป็นบทบันทึกประวัติศาสตร์ชิ้นเยี่ยม ที่ไม่มีวันเลือนหายไปกับกาลเวลา คงอยู่เป็นมรดกบนแผ่นฟิล์มไปตราบนานเท่านาน"

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

2475 ถอยหลัง ตั้งหลัก ทบทวน



สารคดี 2475 ช่อง Thai PBS


สารคดี 2475 เป็นสารคดีประกอบเหตุการณ์จำลอง (Documentary-Drama) มุ่งหวังให้ประชาชนคนไทยได้กลับมาทบทวนถึงเหตุและผลของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  และมองระบอบการปกครองของไทยอย่างไตร่ตรอง  และเข้าใจมากยิ่งขึ้น ในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง

- Spot Trailer -

สารคดี 2475 เวอร์ชั่นสารคดีนี้  เขียนบทโดย คุณเอก เอี่ยมชื่น  และการกำกับสารคดีโดย คุณสุรัสวดี เชื้อชาติ หรือ แหม่ม มาม่าบูลส์  ซึ่งทั้งสองท่านเคยฝากผลงานชิ้นเยี่ยม และปลุกกระแสการรักชาติไว้ที่ไทยพีบีเอสคือภาพยนตร์เรื่อง “ขุนรองปลัดชู” เวลาออกอากาศเมื่อ  :  25, 26 และ 27 ก.ค. 55  เวลา 22.00 - 23.00 น. (2012)


สารคดี 2475 ตอน 1 "ความทรงจำ"
 


สารคดี 2475 ตอน 2 "สองฝั่งประชาธิปไตย"


 สารคดี 2475 ตอน 3 "ชะตาชาติ" (จบ)


วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Time Machine ย้อนเวลาท่องอนาคต


ทฤษฎีย้อนเวลา หรือ Time machine คือ ทฤษฎีฟิสิกส์ที่เชื่อว่า หากมนุษย์สามารถเดินทางได้เร็วกว่าแสงแล้วล่ะก็ เราก็จะสามารถเคลื่อนที่สวนทางกับแสงเพื่อกลับในโลกอดีตได้ และพร้อมกันนั้นก็สามารถวิ่งแซงหน้าแสง เพื่อล่วงไปในโลกอนาคตได้เช่นกัน


ทฤษฎีย้อนเวลา ถูกนำมาเล่นมากมายในภาพยนตร์ โดยเฉพาะหนังไซ-ไฟ...โดยแบ่งเป็น 2 แนวหลักๆคือ

1. สามารถย้อนเวลาไปแก้ไข อดีต อนาคต อย่างที่ต้องการได้ อาทิในภาพยนตร์เรื่อง Star Trek, Back to the future หรือในการ์ตูนอย่าง DragonBallZ ซึ่งจะทำให้มิติ อดีต ปัจจุบัน อนาคต มี Timeline เรื่องราวไม่เหมือนกัน (ปกติต้องเหมือนกัน+_+)

2. อันนี้น่าสนใจกว่า คือ ถึงแม้จะย้อนเวลาได้ แต่สุดท้ายแล้วยังไงก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ต่างๆได้ อดึต ปัจจุบัน อนาคต ยังคงตรงกันอยู่ดี เช่นคนที่จะต้องตายเวลานั้น ก็ต้องตายอยู่ดี แม้จะย้อนเวลาไปได้และแก้ไขเหตุการณ์ยังไงก็ตาม ซึ้งอันนี้น่าสนใจ ว่าทำไมต้องเป็นเช่นนั่นแสดงว่าทุกอย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว...พรหมลิขิต!...อะไรจะเกิดขึ้นยังไงต้องเกิด แก้ไขไม่ได้เลย!

- *ภาพยนตร์ The Time Machine (2002) กระสวยแซงเวลา นักวิทยาศาสตร์จอมประดิษฐ์ อเล็กซานเดอร์ (แสดงนำโดย กาย เพียร์ซ)...มีความตั้งใจอันแรงกล้าที่จะพิสูจน์ความเป็นไปได้ในการเดินทางข้ามเวลา เป็นความมุ่งมั่นจากการสูญเสียคนรัก ที่ผลักดันให้เขา ต้องการกลับไปแก้ไขอดีต ถึงแม้เขาย้อนไปได้ แต่เขากลับกลายเป็นตัวแปรที่ทำให้ คนรักตาย ซะเอง  และขณะทดสอบทฤษฎีการเดินทางกับเครื่องข้ามเวลาที่เขาประดิษฐ์ขึ้นมา อเล็กซานเดอร์ ได้ข้ามกาลเวลาล่วงหน้าไปสู่อนาคตแปดแสนปี! พบว่ามนุษยชาติได้แบ่งออกเป็นชนเผ่าผู้ล่าและผู้ถูกล่า...เป็นหนังที่สนุกครับ :)


........................................

- *ภาพยนตร์ Twelve monkey(1995)  หนังยอดเยี่ยมอีกเรื่องที่โครงเรื่องซับซ้อนหักมุมล้ำลึก(ขึ้นทำเนียบคนดูแล้ว งง! เรื่องหนึ่งของโลก :)...ย้อนเวลาแก้ไขอดีตสุดท้ายแล้วแก้ไขไม่ได้เช่นกัน ซ้ำคนแก้ไขก็กลายเป็นตัวแปรให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆอีกต่างหาก หนังพล็อตน่าสนใจตรง อดีต ปัจจุบน อนาคต มันวน Loop เป็นวงกลม...


พระเอก (บรูซ วิลลิส + แบรด พิตต์ ร่วมแจม) วัยเด็กฝังใจที่เห็นคนคนนึงถูกฆ่าตายต่อหน้าตัวเอง หลายสิบปีต่อมาโตขึ้น โลกเกิดวิกฤติไวรัส มนุษย์ตายเป็นเบือทั่วโลกต้องอพยมไปอยู่ใต้ดิน เค้าถูกคัดเลือกให้เป็นคนที่ถูกทดลองส่งข้ามกาลเวลาเพื่อกู้วิกฤตไวรัสนั้น เกือบจะทำสำเร็จแล้วแต่ดันตายเสียก่อน และวินาทีที่เขาล้มลง ก็เห็นว่าเด็กคนสุดท้ายที่ตัวเองเห็น ก็คือตัวของเค้าเมื่อสมัยยังเป็นเด็ก สรุปก็คือเด็กคนนั้นก็จะโตมาเป็น บูรซ วิลลิส  และถูกส่งข้ามกาลเวลา...กลับมาตายต่อหน้าตัวเองอีก เป็นลูปวัฏจักร!  (แต่เด็กก็จะไม่รู้ว่านั่นคือตัวเค้าจากอนาคต)...*หรืออย่างกรณี ภาพยนตร์แฟรนไชส์ชื่อดังอย่าง Terminator ก็เกิดอาการวนลูปเชื่อมโยงเหตุการณ์ อดีต ปัจจุบัน อนาคต เช่นกัน แต่ใน Terminator กลับมีการแก้ไขผลของเหตุการณ์ได้ด้ว


........................................

- * น่าสนอีกเรื่องคือ The Butterfly Effect  ไอเดียจากทฤษฏีผีเสื้อกระพือปีก หรือ The Butterfly Effect  นั่นเอง หลักการง่ายๆคือ...เพียงแค่ผีเสื้อตัวเล็กขยับปีก ก็สามารถทำให้เกิดเหตุการณ์ใหญ่ อาทิ พายุ ในที่ห่างไกล ทั้งดูเหมือนไม่เกี่ยวกันเลย หรือเข้าทำนอง เด็ดดองไม้สะเทือนถึงดวงดาว!...ภาพยนต์เรื่อง The Butterfly Effect จะทำให้เห็นรูปธรรมของทฤษฎีนี้ได้มากขึ้นทีเดียว...ในอดีตเราเคยตัดสินใจทำอะไรไว้ แม้เป็นเพียงสิ่งเล็กๆ แต่มันก็อาจส่งผลต่ออนาคตอีกหลายปีต่อมาข้างหน้า อย่างมากมายคาดไม่ถึง!


เนื้อเรื่องในหนัง พระเอกสามารถย้อนเวลาโดยใช้พลังจิตพิเศษของตัวเอง จากการอ่านบันทึกย้อนความทรงจำ แม้เหตุการณ์ที่ได้ไปแก้ไข เปลี่ยนเงื่อนไขไป แต่ท้ายที่สุดผลลัพธ์ยังคงเหมือนเดิมเสมอ (แถมบางครั้งกลับส่งผล เลวร้ายกว่าเดิม)


........................................

ปล...*แต่ที่แน่ๆปัจจุบัน การย้อนเวลา ยังคงมีเพียงแค่จินตนาการในภาพยนตร์ และยังคงเป็นความฝันของมนุษยชาติตลอดมา แต่ยังไม่มีวี่แววจะเป็นไปได้แต่ประการใด... +_+