วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

Multiverse / พหุจักรวาล

Multiverse / พหุจักรวาล มีจริงแค่ไหน ? ยังไม่มีหลักฐานที่พอจะฟันธง 100% แต่ด้วยบริบทเบาะแสแวดล้อมต่างๆเท่าที่มี แนวโน้วความน่าจะเป็น น่าจะมี มากกว่า ไม่มี ? (*ก็คล้ายๆ เคส Alien-สิ่งทรงภูมิปัญญาต่างดาว จริงๆยังไม่มีหลักฐานที่ฟันธงได้ แต่แนวโน้วดูเทไปทาง น่าจะมีมากกว่า หรือแม้เคสของ สิ่งที่เรียกว่า God ก็อาจทำนองเดียวกัน ) . . . แต่ พหุจักรวาล มีรูปแบบใดบ้าง-ทำงานยังไง-สัมพันธ์กับ #เวลา ยังไง-ที่สำคัญคือสัมพันธ์กับจิตสำนึก(consciousness)ของสิ่งมีชีวิต-คนเรายังไง ? โดยเฉพาะถ้าในรูปแบบที่มีตัวเราอีกคนหรือหลายๆคน ในอีกพหุจักรวาลคู่ขนานอื่นๆ (เรียกในอีกชื่อว่า Parallel Universe) . . . นับเป็นเคสปริศนาที่น่าสนใจมาก


ปัญหาหลักที่น่าพิจารณา แง่หนึ่ง คือ การข้ามเวลา (*ถ้าธรรมชาติมีกลไกให้ข้ามได้จริง ? ก็น่าจะมีบางสปีชีส์ที่น่าจะวิวัฒนาการ จนสามารถมีอวัยวะหรือกลไกร่างๆอะไรก็ตาม ที่มีคุณสมบัติช่วยในข้ามเวลาได้เองตามธรรมชาติเพียวๆ แบบไม่ต้องพึ่ง เทคโนฯ สิ่งประดิษฐ์ เชิง Time machine ใดๆ ? . . . เหมือน นกแมลงที่ผ่านการวิวัฒน์ จนมีปีกบินได้เองเพียวๆ แต่คนจะบินต้องสร้างเครื่องบิน ) . . . การข้ามเวลา แท้จริงก็คือ การข้ามไปสู่ พหุจักรวาลคู่ขนานอื่นๆ หรือไม่ ? และถ้าข้ามไปอดีต ไปเจอตัวเองในอดีต ไปเจอในสิ่งที่รู้แล้วว่าจะลงเอยยังไง แล้วถ้าไปทำบางอย่างให้เปลี่ยนไปจากประวัติศาสตร์เดิมที่เคยเป็น จะเป็นยังไง เกิดการแตกแขนงของเส้นเวลาใหม่ ? แล้วเส้นเวลาใหม่ จริงๆคือเส้นเวลาที่เกิดขึ้นไปเรียบร้อยแล้ว หรือเพิ่งงอกเมื่อมีการเข้าไปเปลี่ยน ? เป็นต้น . . . ( *การอธิบาย Timeline หรือ เส้นเวลา ว่าเป็นเส้น แค่อุปมาให้นึกภาพเข้าง่ายขึ้นเท่านั้น เพราะ ตัวเวลา ค่อนข้างจะนามธรรม )
.
และจริงๆการดำรงอยู่ของตัวเวลาเอง ก็ยังเป็นปัญหาทางฟิสิกส์ในหลายๆแง่มุม แต่เบื้องต้นสาระของคำ เวลา ย่อมสัมพันธ์กับ อัตราการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในส่วนนี้หลักฐานตามธรรมชาติค่อนข้างชัดเจนอย่างไรข้อโต้แย้งแล้วว่า ในพื้นที่ต่างกัน อัตราเวลาเดินช้าเร็วไม่เท่ากันนั้นมีอยู่จริงๆพิสูจน์ได้จริง ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพ
.
ปล. ในส่วน Sci-Fi ยังคงมีช่องให้เล่นไอเดีย-แต่งพล็อต เกี่ยวกะเวลาและพหุจักรวาลได้อีกเยอะ ก็ขึ้นอยู่กับว่า หนังนิยายเรื่องไหนเล่นได้เฉียบแค่ไหน เหตุผลตรรรถะพอจะรับฟังได้ไหม หรือพอจะน่าเชื่อแค่ไหน และบางไอเดีย ก็อาจถูกนำไปพิจารณาในการเป็นสมมติฐานค้นคว้าต่อยอดในฟิสิกส์จริงๆ ได้บ้างเช่นกัน

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564

Dark ซีรี่ย์ จุดเริ่มต้นคือจุดจบ จุดจบคือจุดเริ่มต้น

 สำหรับซีรี่ย์ #Dark (ของNetflix) หลายคนคงดูมาแล้ว ก็เป็นอีกซีรี่ย์(สัญชาติเยอรมัน) ที่เล่นกับปมของการข้ามเวลาได้มันส์ดี และได้แฝงไอเดียปรัชญามาเต็มพอควร . . . เบื้องต้นเป็นการเล่นกับเวลา Timeline เส้นเดียวเป็นหลัก ที่ไม่แตกแขนง 'โลกคู่ขนาน' ใดๆ แต่กระนั้นตอนหลังๆก็มีอีกโลกคู่ขนานเข้ามามีบทบาทกับโลกหลักด้วยเช่นกัน เกิดเป็นอีกความซับซ้อน ที่เข้ามาทับซ้อนเส้นเรื่อง ที่ซับซ้อนพอตัวอยู่แล้วอีกที ฮึๆ . . .


แต่ความซับซ้อนของเรื่องนี้ ไม่ได้อยู่ที่กลไกการทำงานของตัวเวลา หรือมีการคิดไอเดียกลไกข้ามเวลารูปแบบใหม่ๆ (ทำนองหนังอย่าง #Tenet ) แต่อยู่ที่การเล่นกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร อันเป็นผลจากการข้ามเวลาจนเกิดลำดับเชื่อมโยงของเหตุการณ์และลำดับความสัมพันธ์ของตัวละครที่อาจดูวิปริตผิดที่ผิดทางเกินไปไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น ท้องเรื่องจึงก่อเกิดสถานการณ์ซ่อนเร้น และเป็นปมทางจิตใจของตัวละครหลัก จึงมีความพยายามที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงปมที่เกิดขึ้น ทั้งพยายามจะหลีกหนีออกจากวัฎจักรวังวนของเวลานี้ เป็นต้น. . . โดยรวมๆก็เป็นอีกซีรี่ย์ข้ามเวลาที่น่าติดตามในที่มาที่ไปสนุกดีครับ ใครยังไม่ได้ดูก็ลองดู (ยาวพอควร 3 season) . . .
.
ปล. แต่ความที่เป็นหนังนิยาย ก็เป็นเรื่องของการเล่นไอเดียของหนังละครับ แล้วแต่ผู้แต่งจะเล่นกันไป คุณค่าของความเป็นเรื่องแต่งหรือFiction คงไม่ได้เพ่งเล็งจับผิดกันที่เป็นข้อเท็จจริงหรือไม่หรือเป็นไปได้จริงแค่ไหน ทำนองแบบฟิสิกส์จริงๆ (ก็รู้ๆกันอยู่ว่าเป็นการผูกเรื่องแต่งขึ้น) แต่น่าจะอยู่ที่นอกจากการเอาไอเดียฟิสิกส์จริงมาเล่นต่อยอดจนให้ความบันเทิงน่าติดตามแล้ว ยังแฝงแง่คิดหรือไอเดียบางอย่าง เป็นต้น (*ซึ่ง ซีรี่ย์ Dark นี่ ก็นับว่าเป็นอีกเรื่อง ที่ทำได้ดีมาก) . . .
.
. . . ส่วนสำหรับ #เวลา สังเขปเบื้อนต้นในแง่ฟิสิกส์จริงๆ ก็ต้องย้ำทบทวนกันอีกว่า เวลา มีตัวตน(Being) ดำรงอยู่จริง ไม่ได้มีฐานะเพียงแค่คำสมมติรูปแบบหนึ่ง เพื่อมาอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งเพียงแค่นั้น ในส่วนนี้พิสูจน์หลักฐานประจักษ์ได้มากมายแล้ว นำโดย ทฤษฎีสัมพัทธภาพ/ไอน์สไตน์ นั่นเอง ทั้งยังพบว่าตัวเวลาเองเป็นเนื้อเดียวกับอวกาศ(Space) อันไม่ได้ทำหน้าที่ห่อหุ้มสรรพสิ่งหรือเป็นแค่เวทีให้สรรพสิ่งทั้งหลายได้อาศัยอยู่แสดงบทบาทแค่นั้น แต่ประหนึ่ง ตัวเวลา ยังเป็นผู้เล่นซะเองได้ด้วย ก็ด้วยเวลาสามารถยืดหดขยายได้ แล้วแต่ปัจจัยของ แรงโน้มถ่วงและความเร็ว เป็นต้น *ในแต่ละพื้นที่อวกาศ เวลาจึงช้าเร็วไม่เท่ากัน (อาทิ ตัวอย่าง ที่มีเล่นในหนัง #Interstellar เป็นต้น) และแน่ละ เวลา ยังมีปริศนาอีกมากมาย #มันมีกลไกทำงานยังไงแน่-#ทำอะไรได้อีกบ้าง-#เวลาวิวัฒน์มาจากอะไรอื่นอีกทีหรือไม่ กระทั้ง #เวลาหยุดได้หรือไม่! ฯลฯ . . .
.
** ต่อปริศนา เวลา โอบล้อมห่อหุ้มทุกสรรพสิ่งในจักรวาลทั้งมวลไม่ยกเว้นเลย *หรือเปล่า ? หรือจะมีบางอย่างที่อยู่นอก เวลา ได้ ก็นับว่าน่าพิจารณา ( แต่ถ้ามี? สิ่งที่อยู่นอกอิทธิพล เวลา นั้น จะมีตัวตนดำรงอยู่รูปแบบไหนกัน! นับว่าเป็นอีกเคสที่เหนือสามัญสำนึกอย่างสุดขั้ว ยากที่จะจินตนาการถึง ) ** . . .
.
ส่วนเคสจะมีโอกาสความน่าจะเป็น ที่มนุษย์เราจะสามารถข้ามเวลาได้หรือไม่นั้น นับว่ายังเป็นปริศนาที่น่าสนใจมาก *เพราะถ้าข้ามได้ สิ่งที่เคยจินตนาการไว้ในหนังต่างๆ (อันก่อเกิดทั้งประโยชน์และโทษความวุ่นวายต่างๆ ที่จะตามมา) ก็มีโอกาสเป็นไปได้ด้วยนั่นเอง ⏳ . . . ในแง่ของ นิยายเรื่องแต่งไซไฟ หรือ Fiction จึงคาดว่ายังมีช่องให้เล่นอะไรๆเกี่ยวกับ เวลา ได้อีกมาก แต่กระนั้นความยาก(มาก)ของการคิดพล็อต ข้ามเวลา น่าจะอยู่ที่เล่นยังไงให้เนียน ไม่ให้เกิด ย้อยแย้งParadox หรือ ให้ Paradox น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ นับว่ายังคงเป็นสิ่งท้าทายสำหรับการคิดพล็อตไซไฟใหม่ๆ เพราะความเสี่ยงของการเล่นกับเคสข้ามเวลา หลักๆคือ ถ้ามีจุด Paradox มากไป หรือเล่นไอเดียรูปแบบการข้ามแบบมุขซ้ำซากจำเจกะที่เคยสร้างๆกันมามากไป ก็ย่อมจะถูกวิพากษ์รุนแรงจากท่านผู้ชม นั่นแล (โดยเฉพาะผู้ชมไซไฟสายฮาร์ดคอร์เดนตาย^^ด้วยแล้ว ย่อมคาดหวังสูงกว่าผู้ชมทั่วไป) . . . (* ก็หวังว่า ภายภาคหน้า คงจะยังมีการกล้าคิดสร้างหนังข้ามเวลา ที่พล็อตฟินๆเข้มๆทำนองแบบซีรี่ย์ Dark ( หรือที่มีลูกเล่นไอเดียรูปแบบการข้าม สดๆใหม่ๆ ทำนอง Tenet ) ให้คอไซไฟเราได้เสพอีกเรื่อยๆ ต่อๆไป ✌️🎬 )

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564

Zack Snyder 's Justice League

Zack Snyder 's Justice League โปสเตอร์ official

(( แต่มีโดน FC ตัดต่อบางส่วนหยอกๆนิดหน่อย ซึ่งจริงๆก็สื่อได้มีมูลอยู่นะ^^ ฮา ))

.
สำหรับ Zack Snyder 's Justice League มองว่าเป็นการได้กลับมาปรับปรุงรื้อฟื้น เปิดจักรวาล DC ของฮีโร่ Justice League ใหม่อีกครั้งได้ดีงามจริงๆ . . . และหลายคนที่ติดตามข่าวสาร คงได้ทราบข้อมูลไปบ้างแล้ว ซึ่งตัว Snyder เองได้เคยเผยต่อสื่อต่างๆเป็นระยะๆเรื่อยมา ให้แฟนได้รู้เบื้องต้นว่า พล็อตต่อจากนี้(ภาค2-3 ถ้าได้สร้าง ) เรื่องราวจะเป็นประมาณไหน . . . *** ซึ่งพบว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจ/น่าติดตามมากๆ แม้จะเป็นการเผยให้รู้สปอย-ยันเผยตอนจบ ว่าคร่าวๆจะลงเอยออกมาประมาณไหนไปบ้างก็ตาม แต่ก็เชื่อว่า FC ก็ยังคงกระหายอยากเห็นบรรยากาศของหนัง+อยากติดตามเรื่องราวในรายละเอียดของภาคต่อ ต่อๆไป . . .
.
. . . ด้วยเป็นที่รู้กันว่า สำหรับหนังของ Snyder แล้ว เอกลักษณ์ความแจ๋วอยู่ที่การขับบรรยากาศโทนขลังๆ+พร้อมกับการมีแอคชั่นมุมกล้องมันส์ๆให้แฟนได้ว้าวกันเสมอมา ในแบบฉบับ ที่ต้องเป็น Snyder กำกับเท่านั้น หนังถึงจะออกมาโทนแบบนั้น *** ( จุดนี้ คงไม่ได้หมายความว่า ผกก. คนอื่นๆแย่กว่านะครับ ผกก.แต่ละคน ก็ย่อมมีลายเซ็นแบบฉบับของตัวเอง และโทนของ Snyder ก็มีเอกลักษณ์ในแบบ Snyder นั่นเอง ) . . . *** ประเด็นคือ ไหนๆหนังก็เปิดมาซะขนาดนี้แล้ว ถ้าไม่ให้โอกาส Snyder ได้สานต่อ Justice League ให้จบบริบูรณ์ ก็นับว่าน่าเสียดายจริงๆ . . .


. . . สำหรับ FC ก็คงต้องลุ้นกันต่อไปครับ และถ้าหากทางค่ายสตูดิโอผู้สร้าง/นักลงทุนผู้เกี่ยวข้อง แนวโน้มยังลังเลหรือไม่ได้สนใจที่จะสร้างต่ออะไรมากนัก (*จะด้วยมีปัญหาขัดแย้งต่อแนวทาง หรือปัญหาอะไรก็ตามแต่ ทำนองที่เคยมีมา) . . . ก็หวังว่า FC ทั่วโลกคงจะช่วยๆกันผลักดันจนสำเร็จ เหมือนที่เคยผลักดันจน Zack Snyder's Justice League สำเร็จมาแล้ว ( * ส่วนตัวยังแอบเชื่อว่า ถ้า Zack Snyder's Justice League ได้สร้างเป็น Trilogy จบบริบูรณ์สำเร็จ มันมีความน่าจะเป็นมากว่ามันจะกลายเป็นอีกหนังของจักรวาล DC ที่ขึ้นหิ้งประดับวงการภาพยนตร์ ทำนองที่ The Dark Knight Trilogy ฉบับของ Nolan เคยเป็นมา เป็นต้น 🎬 🤟 )

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2564

!! ใครสร้างพระเจ้า !!

หนัง #Prometheus(2012) บทสนทนาตอนนี้แอบแฝงนัย น่าสนใจ

การค้นพบเบาะแสใหม่เชิงวิทยาศาสตร์ VS ความเชื่อในตำนานเชิงศาสนาต่อกรณี ผู้สร้าง/พระเจ้า
แต่ตัวละครอย่าง Elizabeth Shaw ก็ได้สะท้อนอีกนัยเช่นกันว่า ถึงแม้ได้รับคำตอบแล้วว่า เอเลี่ยนทรงภูมิปัญญาพวกนี้ (Engineer) คือผู้สร้างมนุษยชาติที่แท้จริง (อันไม่ใช่พระเจ้าอะไรทำนองในที่คัมภีร์ศาสนาบอกไว้) แต่ก็ยังไม่จำเป็นต้องตัดทิ้งตำนานของศาสนา เพราะยังถามได้ต่อว่า แล้วใครสร้างพวกเขาอีกที ซึ่งคำถามแบบนี้ จะไม่มีวันสุดจบ เพราะจะถามได้เรื่อยๆเมื่อมีการค้นพบผู้สร้างของผู้สร้างต่อๆไป . . .
. . . คติความเชื่อที่ เรียกว่า ผู้สร้างอันเป็นปฐมแรกสุด แม้นักวิทย์ฟิสิกส์หลายท่านจะปฏิเสธการมีอยู่ของผู้สร้างทำนองศาสนา แต่ไปเชื่อในแบบที่เป็นกฏหรือระบบอะไรบางอย่างก็ตามในเชิงฟิสิกส์แทน แต่ฝ่ายผู้ที่เชื่อว่ามีพระเจ้าก็จะโต้แย้งได้อยู่ดีทำนองว่า กฎหรืออะไรซับซ้อนขนาดนี้จะเกิดขึ้นเองลอยๆไม่ได้ ควรต้องมีใครหรืออะไรลี้ลับบางอย่างที่มีอำนาจในสร้างกฎ ควบคุม หรือสามารถแทรกแซง ความเป็นไปของสรรพสิ่งทั้งปวง อันหมายถึงต้องมีอำนาจอยู่เหนือกฏเหล่านี้อีกที เป็นต้น . . .
ปล. ก็นับว่าเป็นประเด็นปัญหาจักรวาลแตกหรือปริศนาคลาสสิกไปตลอดกาล ซึ่งเบื้องต้นแล้วต่อกรณีความเชื่อเกี่ยวกับกรณีมีผู้สร้างสูงสุดหรือไม่อย่างไร อะไรทำนองนี้ คงไม่ใช่เรื่องที่จะมากีดกันหรือเหยียดห้ามอะไรกันได้อยู่แล้ว สุดท้ายก็คงแล้วแต่ใครจะวิจารณญาณ และพอใจที่จะเลือกเชื่อแบบไหนแง่มุมใด ก็ว่ากันไป
+++ เกร็ดตำนาน Engineer - ไซไฟ Prometheus เพิ่มเติม http://www.avp.siligon.com/