วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

กรอบความคิดแบบฮินดูในไทย

ถ้าคุณสังเกตดู จากสิ่งหรือสภาพการณ์ต่างๆที่เป็นอยุ่ใกล้ๆตัว ในประเทศไทย
ชื่อสถานที่ต่างๆ งานศิลปะ วัฒนธรรมไทย ฯลฯ ล้วนมีที่มา มีเนื้อหา จากคติความเชื่อหรือกรอบความคิด(Paradigm) ของ ฮินดูเสียส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง รามเกียรติ์ ตำนานเทพเจ้า ระบบจักรวาล ฯลฯ

-สะพานพระราม ๘ (พระราม มาจากรามเกียติ์)
-โรงแรม เอราวัณ(เอราวัณเป็นพาหนะของพระอินทร์ในตำนานเทพเจ้าฮินดู)
- ศาลพระพรหม (พรหมเป็นเทพเจ้าสร้างโลก ในตำนานฮินดู) มีคนกราบไหว้ขอพรกันไม่ขาดสาย
- สิ่งต่างๆในเมืองโบราณ ส่วนใหญ่มากจาก เรื่องเล่าใน รามเกียรติ์บ้าง ตำนานเทพเจ้าฮินดูบ้าง
- วันทั้ง 7 วัน ของไทยตั้งตามชื่อเทพเจ้าฮินดู (พระจันทร์ พระอังคาร...พระอาทิตย์)
- ตราราชการ ของไทยคือ ตรา ครุฑ (ครุฑ เป็นสัตว์ป่าหิมพานต์ ในคติความเชื่อ จักรวาลของฮินดู
- ท่าเรือ วาสุกรี (วาสุกรี เป็น ชื่อ ประมุขพญานาค ในเมือง บาดาล)
- ยักษ์ต่างๆในวัดพระแก้ว รวมทั้งจิตรกรรม ฝาฝนัง ส่วนใหญ่ สร้างจากนิทานเรื่อง รามเกียรติ์
- คณะวิศวกรรมศาตร์ หรือ วิทยาลัยเทคนิค หรือ วิทยาลัยการช่างต่างๆ มี พระวิษณุหรือพระนารายณ์ เป็นสัญลักษณ์ และเป็นทีเคารพบูชา
- มหาลัยศิลปากร มี พระพิฆเณศร์ เป็น ตราสัญลักษณ์
- สำนวน อัศวินม้าขาว หมายถึง ฮีโร่ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาหรือช่วยให้พันภัย ที่มาจากคติความเชื่อ นารายณ์อวตาร10 ปาง ปางสุดท้าย ซึ่งมีลักษณะเป็น อัศวินขี้มาขาวมาช่วยโลกในกลียุคภายภาคหน้า
- โหราศาสตร์ไทย ใช้ชื่อในคติความเชื่อต่างๆของฮินดูในการทำนายเช่น ช่วงนี้ อยุ่ในช่วง ราหูเข้าแทรก!!
- พระแม่โพสพ เป็นเทพี แห่งข้าว ชาวนาไทยนับถือมีการทำพิธีแม่โพสพก่อนทำนา

- ฯลฯ...

นี้คือ หลักฐาน ที่แสดงให้เห็นว่าคติความเชื่อ ฮินดู ได้ฝังรางลึกในไทย ถึงแม้จะมีคติความเชื่ออื่นๆ ปะปนบ้างในยุคหลัง แต่คติความเชื่อแนวฮินดูก็ยังคงครอบวงำฝังรากลึกกว่าคติความเชื่ออื่นๆ และยังคงเชื่อถือและใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน

เคยตั้งคำถาม กับสิ่งรอบๆตัวที่เราต้องเกี่ยวข้องดังกล่าวมานี้-สิ่งที่เราเคารพนับถือ-สิ่งที่เราผ่านแล้วต้องไหว้ ฯลฯ หรือเปล่า?

- พระพรหมคือใคร มี่ที่มายังไง เกี่ยวข้องกับมนุษย์เรายังไง?
- ครุฑ คืออะไร?ทำไมต้องครึ่งคนครึ่งนก ?
- ทำไม พระอินทร์ต้องทรงช้างที่ชื่อเอราวัณ ?
- พระพิฆเณศร์ ทำไมหัวเป็นช้างและอ้วนลงพุง ?
- พระจันทร์เป็นใคร แตกต่างจากพระอาทิตย์ยังไง?
- ราหูทำไมต้องอมพระจันทร์ ?
- ป่าหิมพานต์ คืออะไร อยู่ที่ไหน?
ฯลฯ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น