วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564

Dark ซีรี่ย์ จุดเริ่มต้นคือจุดจบ จุดจบคือจุดเริ่มต้น

 สำหรับซีรี่ย์ #Dark (ของNetflix) หลายคนคงดูมาแล้ว ก็เป็นอีกซีรี่ย์(สัญชาติเยอรมัน) ที่เล่นกับปมของการข้ามเวลาได้มันส์ดี และได้แฝงไอเดียปรัชญามาเต็มพอควร . . . เบื้องต้นเป็นการเล่นกับเวลา Timeline เส้นเดียวเป็นหลัก ที่ไม่แตกแขนง 'โลกคู่ขนาน' ใดๆ แต่กระนั้นตอนหลังๆก็มีอีกโลกคู่ขนานเข้ามามีบทบาทกับโลกหลักด้วยเช่นกัน เกิดเป็นอีกความซับซ้อน ที่เข้ามาทับซ้อนเส้นเรื่อง ที่ซับซ้อนพอตัวอยู่แล้วอีกที ฮึๆ . . .


แต่ความซับซ้อนของเรื่องนี้ ไม่ได้อยู่ที่กลไกการทำงานของตัวเวลา หรือมีการคิดไอเดียกลไกข้ามเวลารูปแบบใหม่ๆ (ทำนองหนังอย่าง #Tenet ) แต่อยู่ที่การเล่นกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร อันเป็นผลจากการข้ามเวลาจนเกิดลำดับเชื่อมโยงของเหตุการณ์และลำดับความสัมพันธ์ของตัวละครที่อาจดูวิปริตผิดที่ผิดทางเกินไปไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น ท้องเรื่องจึงก่อเกิดสถานการณ์ซ่อนเร้น และเป็นปมทางจิตใจของตัวละครหลัก จึงมีความพยายามที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงปมที่เกิดขึ้น ทั้งพยายามจะหลีกหนีออกจากวัฎจักรวังวนของเวลานี้ เป็นต้น. . . โดยรวมๆก็เป็นอีกซีรี่ย์ข้ามเวลาที่น่าติดตามในที่มาที่ไปสนุกดีครับ ใครยังไม่ได้ดูก็ลองดู (ยาวพอควร 3 season) . . .
.
ปล. แต่ความที่เป็นหนังนิยาย ก็เป็นเรื่องของการเล่นไอเดียของหนังละครับ แล้วแต่ผู้แต่งจะเล่นกันไป คุณค่าของความเป็นเรื่องแต่งหรือFiction คงไม่ได้เพ่งเล็งจับผิดกันที่เป็นข้อเท็จจริงหรือไม่หรือเป็นไปได้จริงแค่ไหน ทำนองแบบฟิสิกส์จริงๆ (ก็รู้ๆกันอยู่ว่าเป็นการผูกเรื่องแต่งขึ้น) แต่น่าจะอยู่ที่นอกจากการเอาไอเดียฟิสิกส์จริงมาเล่นต่อยอดจนให้ความบันเทิงน่าติดตามแล้ว ยังแฝงแง่คิดหรือไอเดียบางอย่าง เป็นต้น (*ซึ่ง ซีรี่ย์ Dark นี่ ก็นับว่าเป็นอีกเรื่อง ที่ทำได้ดีมาก) . . .
.
. . . ส่วนสำหรับ #เวลา สังเขปเบื้อนต้นในแง่ฟิสิกส์จริงๆ ก็ต้องย้ำทบทวนกันอีกว่า เวลา มีตัวตน(Being) ดำรงอยู่จริง ไม่ได้มีฐานะเพียงแค่คำสมมติรูปแบบหนึ่ง เพื่อมาอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งเพียงแค่นั้น ในส่วนนี้พิสูจน์หลักฐานประจักษ์ได้มากมายแล้ว นำโดย ทฤษฎีสัมพัทธภาพ/ไอน์สไตน์ นั่นเอง ทั้งยังพบว่าตัวเวลาเองเป็นเนื้อเดียวกับอวกาศ(Space) อันไม่ได้ทำหน้าที่ห่อหุ้มสรรพสิ่งหรือเป็นแค่เวทีให้สรรพสิ่งทั้งหลายได้อาศัยอยู่แสดงบทบาทแค่นั้น แต่ประหนึ่ง ตัวเวลา ยังเป็นผู้เล่นซะเองได้ด้วย ก็ด้วยเวลาสามารถยืดหดขยายได้ แล้วแต่ปัจจัยของ แรงโน้มถ่วงและความเร็ว เป็นต้น *ในแต่ละพื้นที่อวกาศ เวลาจึงช้าเร็วไม่เท่ากัน (อาทิ ตัวอย่าง ที่มีเล่นในหนัง #Interstellar เป็นต้น) และแน่ละ เวลา ยังมีปริศนาอีกมากมาย #มันมีกลไกทำงานยังไงแน่-#ทำอะไรได้อีกบ้าง-#เวลาวิวัฒน์มาจากอะไรอื่นอีกทีหรือไม่ กระทั้ง #เวลาหยุดได้หรือไม่! ฯลฯ . . .
.
** ต่อปริศนา เวลา โอบล้อมห่อหุ้มทุกสรรพสิ่งในจักรวาลทั้งมวลไม่ยกเว้นเลย *หรือเปล่า ? หรือจะมีบางอย่างที่อยู่นอก เวลา ได้ ก็นับว่าน่าพิจารณา ( แต่ถ้ามี? สิ่งที่อยู่นอกอิทธิพล เวลา นั้น จะมีตัวตนดำรงอยู่รูปแบบไหนกัน! นับว่าเป็นอีกเคสที่เหนือสามัญสำนึกอย่างสุดขั้ว ยากที่จะจินตนาการถึง ) ** . . .
.
ส่วนเคสจะมีโอกาสความน่าจะเป็น ที่มนุษย์เราจะสามารถข้ามเวลาได้หรือไม่นั้น นับว่ายังเป็นปริศนาที่น่าสนใจมาก *เพราะถ้าข้ามได้ สิ่งที่เคยจินตนาการไว้ในหนังต่างๆ (อันก่อเกิดทั้งประโยชน์และโทษความวุ่นวายต่างๆ ที่จะตามมา) ก็มีโอกาสเป็นไปได้ด้วยนั่นเอง ⏳ . . . ในแง่ของ นิยายเรื่องแต่งไซไฟ หรือ Fiction จึงคาดว่ายังมีช่องให้เล่นอะไรๆเกี่ยวกับ เวลา ได้อีกมาก แต่กระนั้นความยาก(มาก)ของการคิดพล็อต ข้ามเวลา น่าจะอยู่ที่เล่นยังไงให้เนียน ไม่ให้เกิด ย้อยแย้งParadox หรือ ให้ Paradox น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ นับว่ายังคงเป็นสิ่งท้าทายสำหรับการคิดพล็อตไซไฟใหม่ๆ เพราะความเสี่ยงของการเล่นกับเคสข้ามเวลา หลักๆคือ ถ้ามีจุด Paradox มากไป หรือเล่นไอเดียรูปแบบการข้ามแบบมุขซ้ำซากจำเจกะที่เคยสร้างๆกันมามากไป ก็ย่อมจะถูกวิพากษ์รุนแรงจากท่านผู้ชม นั่นแล (โดยเฉพาะผู้ชมไซไฟสายฮาร์ดคอร์เดนตาย^^ด้วยแล้ว ย่อมคาดหวังสูงกว่าผู้ชมทั่วไป) . . . (* ก็หวังว่า ภายภาคหน้า คงจะยังมีการกล้าคิดสร้างหนังข้ามเวลา ที่พล็อตฟินๆเข้มๆทำนองแบบซีรี่ย์ Dark ( หรือที่มีลูกเล่นไอเดียรูปแบบการข้าม สดๆใหม่ๆ ทำนอง Tenet ) ให้คอไซไฟเราได้เสพอีกเรื่อยๆ ต่อๆไป ✌️🎬 )