วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ทาสยีน


“We are survival machines – robot vehicles blindly programmed to preserve the selfish molecules known as genes. This is a truth which still fills me with astonishment.”

― Richard Dawkins, The Selfish Gene


เบื้องต้น ถ้าอิงทฤษฎีนี้ ก็ต้องแซวว่า เราก็ต่างเป็นแค่ ทาสยีน ด้วยกันทั้งนั้น... ( *ถ้ามี เอเลี่ยน/ชีวิตอื่นต่างดาว พวกเขาก็คงเป็นทาสยีนเช่นกัน มั้ง ? 🧬👽)

... มองแง่นี้ พฤติกรรมของเราหรือสิ่งมีชีวิตต่างๆ (ไม่ว่าดีร้าย) ลึกๆล้วนถูก ยีน บงการขับดันขับเคลื่อน หรือจะเรียกว่า ถูกยีนหลอก ทั้งในระดับหยาบๆทั่วไป กระทั้งหลอกซ้อนหลอกในระดับลึกว่า เราเป็นตัวของเราเอง มีเจตจงนงอิสระคิดเองได้ (ทั้งที่ตัวตนจริงๆไม่เคยมีจริง ? ) ก็แล้วแต่จะอุปมาหรือวิจารณญาณแง่มุมกันไป

มองในสเกลใหญ่ขึ้นไป ระดับสังคม-ระดับเผ่าพันธุ์-ที่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับระบบธรรมชาติแวดล้อมด้วยแล้ว ดูเหมือน การร่วมมือกัน-การมีสำนึกสาธารณะ เห็นแก่ผู้อื่นเห็นแก่สิ่งแวดล้อม-เห็นแก่ชีวิตอื่นๆบ้างด้วย มีแนวโน้มว่าจะทำให้ ยีน ได้อยู่รอดมีประสิทธิภาพมากกว่าแค่การเป็นคนคับแคบเห็นแก่ตัวเอาตัวรอดคนเดียวหรือเอาเพียงแค่พวกตัวเองกลุ่มเล็กๆ ก็ควรต้องขยายเป็นระดับเห็นแก่เผ่าพันธุ์ เห็นแก่ธรรมชาติแวดล้อม ให้อยู่กันได้ด้วย เพราะทุกอย่างสัมพันธ์กระทบถึงกันหมด อะไรก็ว่าไป ( แม้แก่นรากฐานลึกๆ จะยังคงจัดได้ว่า ยังคงมีความ เห็นแก่ตัว ขับเคลื่อน อยู่ดีอยู่นั่นเอง )

ในสเกลระดับจักรวาล ถ้าอิงความรู้เชิงฟิสิกส์ประกอบด้วย ก็เป็นที่ทราบกันว่า เริ่มแรกหลัง Big Bang ใหม่ๆ ยังไม่มี ยีน เกิดขึ้น มีแต่ปรากฏการณ์ของสสาร-อนุภาคมูลฐาน เป็นต้น ... ยีน เพิ่งวิวัฒน์มาช่วงหลังๆนานโขนับพันล้านปี กว่าจะเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่รู้สึกนึกคิดได้ เกิดมีพฤติกรรมต่างๆ เห็นแก่ตัว ดิ้นรน เพื่อรอด ได้สืบพันธุ์-สืบยีน ให้ดำรงอยู่ต่อๆไป...ส่วน ระบบชีวิต-ระบบจักรวาล มุ่งหมายแค่ให้ยีนรอด แค่นั้น ? หรือสาระของการมีชีวิต มีเพียงแค่นั้นจริงๆหรือไม่ ? อันนี้คงยังไม่อาจฟันธง เพราะตัวที่มาของระบบจักรวาลทั้งปวงเองยังคงลี้ลับ ทั้งองค์ความรู้เท่าที่มนุษย๋์เรามีก็ยังไม่ได้ตอบอะไรๆเคลียร์ทั้งหมดทุกแง่มุม แม้เคสของชีวิตแรกสุด ก็ยังเป็นปริศนาว่ามาจากไหน เกิดขึ้นได้ยังไงแน่ ก็ยังคงมีปริศนาอีกมากมายที่ต้องค้นหาไขความลับต่อไป ว่าทำไมมันถึงเป็นอย่างที่มันเป็น-ที่มาที่ไป-เพื่ออะไรยังไง-แล้วจะไปไหนต่อ...ฯลฯ

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ชีรี่ย์ Foundation (สถาบันสถาปนา)



ชีรี่ย์ #Foundation (สถาบันสถาปนา) จากสุดยอดนิยายไซไฟคลาสสิก โดย IsaacAsimov สู่ซีรี่ย์ฟอร์มยักษ์ โดย #AppleTV ... กำหนดฉาย 2021 🎬 --



สังเขปเรื่องย่อ: ดร.ฮาริ เซลดอน ปราชญ์ผู้รอบรู้-นักอนาคตประวัติศาสตร์ (psychohistory)ได้ติดตามสังเกตเห็นตัวแปรความเป็นไปต่างๆของ จักรวรรดิอวกาศ อันมีแนวโน้มที่จะเกิดวิกฤติ-การเสื่อมโทรมลง ซึ่งจะลงเอยกลายเป็น ยุคอนารยะ หรือยุคแห่งความทุกข์ยาก คำนวณได้ว่ายุคเสื่อมนี้ จะกินเวลายาวนานถึงประมาณ 30,000 ปี กว่าจะกลับมาค่อยๆฟื้นฟูได้อีกครั้ง และเมื่อประเมินตัวแปรต่างๆแล้ว ภัยพิบัติความเสื่อมทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นนี้ จะไม่สามารถป้องกันแก้ไขอะไรได้เลย ที่พอจะทำได้ทางเดียวก็คือ การเยียวยา เพื่อช่วยย่นลดให้ช่วงเวลาแห่งความทุกข์ยากเสื่อมโทรมนั้น กินเวลาให้สั้นลง จาก 30,000 ปี เหลือประมาณ 1,000 ปี ...

ดร.ฮาริ เซลดอน จึงได้วางแผน ก่อตั้ง สถาบันสถาปนาขึ้น (ส่วนหนึ่งเป็นที่รวบรวมคลังภูมิปัญญามนุษยชาติ) ... ระหว่างนั้นจึงได้เกิดเป็นเรื่องราวเหตุการณ์ยืดยาว กับตัวละครเกี่ยวข้องมากมาย และนิยายก็สะท้อนนัยยะน่าสนใจมากมาย ไม่ว่าเชิง นวัตกรรม เทคโนโลยี การท่องอวกาศ สิ่งมีชีวิตเอเลี่ยนทรงภูมิ ทั้งเชิง ชีวิตสังคม ปรัชญา ศาสนา เศรษฐศาสตร์ การเมือง สงคราม ฯลฯ ...


* ปล. The Foundation ต้นฉบับนิยายดั้งเดิมนั้น มีเพียง 3 เล่ม เป็น Trilogy ... แต่ภายหลังก็ถูกขยายยาวเป็น 10 เล่มจบ (*นานมาแล้ว เคยมี แปลไทยครบชุดทั้ง 10 เล่ม )

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563

Fringe: เลาะปมพิศวงไวรัส!


แต่จะมีใคร หรือระบบอะไร ที่เป็นเบื้องหลังควบคุมบงการ ไวรัส อีกทีหรือไม่ !? ... คงไม่มีใครรู้ เพราะแม้แหล่งกำเนิดที่แท้จริงของไวรัส (หรือแม้เชื้อโรคอื่นๆ) มันมาจากไหนกันแน่ ? - มันกลายพันธุ์วิวัฒน์ได้อย่างไร ? ... ยังไม่อาจฟันธง100% ด้วยซ้ำไป แถมสายพันธุ์ใหม่ๆก็ดูจะมาของมันได้เรื่อยๆ เป็นระลอกๆ นับจากอดีต ยันปัจจุบัน และอนาคตก็คงมาได้อีกเช่นกัน

มนุษย์เรามีสติปัญญา เหมือนจะมาไกลแล้ว และรู้อะไรๆเกี่ยวกับระบบธรรมชาติมากมายแล้ว ก็มีส่วนจริงอยู่บ้าง แต่เมื่อสถานการณ์ต่างๆในธรรมชาติดูเหมือนจะเสถียรดี เราก็มักหลงระเริงตัว อหังการได้สักพักว่าเราคุมตัวแปรต่างๆได้  แทบทุกอย่างเหมือนจะอยู่ในกำมือเราแล้ว แต่ในที่สุดเมื่อวิกฤติหนักๆดันโผล่มาอีกระลอก ก็ไม่เฉพาะเชื้อโรคอย่างไวรัสเท่านั้น รวมทั้งวิกฤติอื่นๆตามธรรมชาติอีกมากมาย ทั้งจากที่เรามีส่วนร่วมด้วย หรือจะเกิดขึ้นเองตามระบบของมันก็ตาม เราก็จะตื่นตูมโอดครวญต้องมาทบทวนกันอีกทีหนึ่งว่าเรายังไม่สามารถคุมทุกอย่างได้จริงๆ ทั้งยังตอกย้ำให้ต้องตระหนักอีกว่า ยังมีตัวแปรอีกมากมายที่เรายังไม่รู้จัก และยังไม่เข้าใจมันเลยแม้แต่นิดเดียว เรียกว่ายังมีอะไรให้มนุษย์ต้องเรียนรู้อีกมาก ก็เป็นบทเรียนให้ยิ่งต้องถ่อมตัว เฝ้าระวังไม่ประมาท และจำต้องปรับวิธีคิดและปรับตัวปรับวิถีชีวิตกันต่อไปเรื่อยๆ ✌🌏

ปล. ส่วนซีรี่ย์ Fringe ที่ยกมานี้ ก็เป็นอีกไซไฟไอเดียบรรเจิดๆครับ ที่ให้ไอเดียว่า นอกจากตัวแปรแค่ในโลกเราปกติซึ่งเรายังไม่อาจเข้าใจได้ทั้งหมดอยู่แล้วนั้น มันยังมีตัวแปรจาก #มิติคู่ขนาน! อีกต่างหาก ... ใครยังไม่เคยชม ก็ลองหาดูครับ  🎬


วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563

เป็นไปได้! 2020


สวัสดีปีใหม่ โพสแรก รับวันแรกของปี 2020 🚀


⭐ ขอเริ่มที่การรำลึกถึงยอดคนผู้เป็นแบบอย่างอันดีท่านหนึ่ง .. "โรเบิร์ต ฮัทชิงส์ ก็อดเดิร์ด" / Robert Hutchings Goddard (อเมริกัน, 1882-1945) #เขาคืออีกตำนานที่ควรต้องจดจำและบูชา 🙏 .. ย่อๆ .. ในวัย16 เมื่อได้อ่านนิยายไซไฟเรื่อง The War Of The Worlds ซึ่งแต่งโดย H.G. Wells .. แต่นั้นมา ก็อดดาร์ด จึงเริ่มทุ่มเทความสนใจของตนในการสร้างจรวด เพื่อหาทางออกสู่อวกาศ .. เขาเป็นที่ยอมรับในฐานะ ผู้บุกเบิกค้นคว้า-ออกแบบประดิษฐ์จรวด ที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวในการควบคุม คนแรกของโลก .. แต่ในตอนแรกๆยุคนั้น ทฤษฎีการทดลอง-ค้นคว้าประดิษฐ์ต่างๆของเขา มักจะถูกถากถางเย้ยหยันต่อความฝันเฟื่อง ด้วยทุ่มเทในสิ่งที่ผู้คนมองว่าคงเป็นไปไม่ได้ ซ้ำยังได้รับการสนับสนุนไม่มากเท่าที่ควร ( คนที่มีวิสัยทัศน์ฉลาดล้ำก่อนกาลมากๆ ก็มักต้องเจอเช่นนี้แล ธรรมดา🙃) ..



.. กระนั้นต่อมา องค์ความรู้ภูมิปัญญาจากการค้นคว้าทดลองของเขานี้เอง กลับเป็นหนึ่งรากฐานสำคัญมาก ที่ส่งต่อให้คนรุ่นหลังพัฒนาต่อยอด จนเกิดเป็นความก้าวหน้าทางด้านจรวดและสำรวจอวกาศในทุกวันนี้ .. ภายหลังเขาได้รับยกย่องให้เป็น 1ใน4 #บิดาแห่งวิทยาการจรวดและการสำรวจอวกาศ .. [ ท่านอื่นได้แก่ "Konstantin Tsiolkovsky" (รัสเซีย), "Hermann Oberth" (เยอรมัน) และ "Robert Esnault-Pelterie" (ฝรั่งเศส) ]