"เศรษฐกิจ" คำนี้ครอบคลุมความหมายกว้างขวางมาก พูดให้ฟังง่ายๆก็ประมาณ กิจกรรมอันเกี่ยวกับ การบริหาร-การแบ่งปัน-การแลกเปลี่ยนทรัพยากร, การค้า, การซื้อ, การขาย, การลงทุน, การผลิต, การจ้าง, เงินตรา, การส่งออก-นำเข้า, การกระจายรายได้ เป็นต้น สรุปสั้นๆว่าคือ "การทำมาหากิน" ก็ได้
และแม้แต่ผู้ที่ได้ชื่อว่า สมถะ สละโลกแล้วอย่าง พระ-บาทหลวง-ฤาษีชีไพร ก็ต้องมีระบบเศรษฐกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อหล่อเลี้ยงให้ตน วัด หรือคณะของตนอยู่ได้ อย่างน้อยก็ให้มีกินมีใช้เพียงพอกับความต้องการที่จำเป็นในแต่ละวันแต่ละเดือน อาจจะอยู่ในรูปแบบทางตรงคือ ขอบิณฑบาต เรี่ยไรชาวบ้านให้ช่วยบริจาค หรือทางอ้อมเช่น การที่พระต้องทำการใบ้หวย ดูโชคชะตา ปลุกเสกวัตถุมงคล ประกอบพิธีกรรม หรือทำหน้าที่สืบทอดพระศาสนา เทศนาสั่งสอนธรรมช่วยใช้ชาวบ้านจิตใจสงบอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม และชาวบ้านที่ศรัทธาก็ถวายข้าวปลาอาหารปัจจัยเป็นการตอบแทน ฯลฯ
สังเกตดูดีๆแล้วจะพบว่า มนุษย์เราส่วนใหญ่...ใช้เวลาเกือบทั้งหมดของชีวิตหมดไปกับ การทำมาหากิน หรือ "เศรษฐกิจ" ขึ้นอยู่กับว่าระบบเศรษฐกิจที่ตนใช้หรือมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยนั้น เป็นแบบใด อย่างสังคมเมือง คนส่วนใหญ่ก็ทำงานอยู่ในระบบเศรษฐกิจลูกจ้างกินเงินเดือน ทำงานในออฟฟิตเอกชน, ราชการ หรือในโรงงานต่างๆ สัปดาห์หนึ่งมี 7 วัน ให้เวลาไปกับการทำมาหากิน 5-6 วัน เหลือ 1 วันพักผ่อนหรือไปวัด ไปโบสถ์ บางคนอาจทำมาหากินทั้ง 7 วันเลย ขยันทำมาหากินกันขนาดนี้แล้วยังเกิดปัญหาเศรษฐกิจได้ยังไง...???
อันปัญหาทางเศรษฐกิจนั้น(ทั้งในระดับส่วนบุคคลจนถึงระดับประเทศชาติ) มีที่มาจากหลายสาเหตุ ต่างกรรมต่างวาระ ทั้งเหตุที่เข้าใจง่ายๆจนถึงซับซ้อนจนจบต้นชนปลายไม่ถูก...อาทิ ขี้เกียจไม่ขวนขวาย, ไม่มีความรู้ความสามารถ, ขาดภูมิปัญญา-ขาดเทคโนโลยี, โลภไม่รู้จักพอ ใช้ทรัพยากร-ใช้เงินเกินตัว, การฟุ่มเฟือยเป็นหนี้เป็นสินจนไม่สามารถที่จะหามาชดใช้ได้, แข่งดีแข่งเด่นเห็นเขามีก็จะมีแข่งกับเขาโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสม ความจำเป็น และไม่ประเมินสถานะของตัว, การมีภาระจำเป็นที่ต้องรับผิดชอบล้นพ้นเกินรายได้ อาทิต้องส่งเสีย เลี้ยงดูพ่อแม่ เลี้ยงลูก เลี้ยงญาติ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ ไปพร้อมๆกันในคราวเดียว, การโดนเบียดเบียนกลั่นแกล้ง-ลักขโมย, ถูกทำร้ายหรืออาญชญากรรม, การอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่กระจายรายได้ไม่เป็นธรรมหรือไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของตนเช่น ชาวนา-เกตษตรกรโดนผูกขาดบังคับให้ขายข้าว-ผลผลิตในราคาถูกเกินไปจนขาดทุน จนมีรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ (ลักษณะนี้ภาคสังคมต้องมีส่วนร่วมรับรู้และช่วยเหลือโดยการปรับเปลี่ยนระบบให้เป็นธรรมมากขึ้น) หรือคนที่รสนิยมสูงแต่ทำงานในระบบที่มีรายได้ต่ำไม่เพียงพอกับความต้องการ (อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจของตน โดยการหางานใหม่ หรือ หารายได้เสริม) หรือมีระบบเศรษฐกิจไม่เหมาะกับประเทศชาติ(เช่นบางประเทศอาจไม่เหมาะที่จะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เหมาะที่จะเป็นระบบสังคมนิยม หรือ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มากกว่า) , เกิดศึกสงคราม, หรือเหตุสุดวิสัยอย่างการเกิดอยู่ในภูมิประเทศแห้งแล้งขาดแคลนทรัพยากร, ภัยธรรมชาติแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม, โรคภัยไข้เจ็บ-โรคระบาด เป็นต้น
ในโลกแห่งความเป็นจริงใครๆก็อยากมีเศรษฐกิจดีกันทั้งนั้น แต่บางคนใจร้อน(และบางประเทศ)อยากได้เงิน-ทรัพยากรมาแบบเร็วๆง่ายๆเกินไป (บางทีก็มีพอกินพอใช้สบายพอสมควรแล้ว แต่ต้องการให้ได้มากยิ่งๆขึ้นไปอีก) จึงทำทุกวิถีทางโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่คำนึงถึงวัฒนธรรม-ศีลธรรม-จริยธรรมอันดีงามของสังคม อาทิ ปล้นชิงวิ่งราว, เล่นการพนัน, หลอกลวงต้มตุ๋นชาวบ้าน, คอรัปชั่นโกงบ้านกินเมือง, ปั่นหุ้น, โจมตีค่าเงิน หรือแม้แต่การหาเรื่องทำสงครามปล้นทรัพยากรประเทศอื่น ก็นับว่าเป็นความจริงอันแสน กระอักกระอ่วน!! เรื่องทำนองนี้เป็นปัญหาสังคมที่แก้ไม่ตกนับแต่อดีตถึงปัจจุบันและยังคงดำเนินเรื่อยไปในอนาดต ตราบใดที่มนุษย์ ไม่รู้จักควบคุม-บริหารความอยาก!
ช่วงนี้ ไปทางไหนก็เห็นแต่ข่าวเกี่ยวกับ...วิกฤติเศรษฐกิจ ข้าวของสินค้าขายได้น้อยลงทั้งในระดับรากหญ้าไปจนถึงบรรษัทข้ามชาติ, บริษัท-โรงงานหลายๆแห่งทั่วโลกเริ่มอยู่ไม่ได้, ขายสภาพคล่อง, ประสบภาวะขาดทุน, ลดเงินนเดือน, ปลดคนงาน, คนตกงาน, สถาบันการเงินเกิดภาวะ "หนี้เสียไม่สามารถชดใช้หรือหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL)"จำนวนมหาศาล บ้างก็วิจารณ์ว่าระบบเศรษฐกิจกระแสหลักที่เป็นอยู่ในประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกนั้นคือ ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม-การค้าเสรี เป็นระบบที่มีปัญหากำลังจะถึงจุดจบ !! โลกอาจจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบระบบเศรษฐกิจขนานใหญ่กันเลยทีเดียว
ไม่ว่าระบบเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรต่อไป อยากเสนอ "วจีอมตะ" ชุดหนึ่ง น่าจะเป็นข้อคิดเตือนใจ และเป็นแรงบันดาลใจที่ดี เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจทั้งระดับส่วนตัวบุคคล และระดับชาติบ้านเมือง...
“โลกมีทรัพยากรเพียงพอที่จะเเบ่งปันให้เเก่มนุษย์ทุกคนตามที่จำเป็น เเต่มีไม่เพียงพอที่จะสนองความโลภของคนแม้เพียงคนเดียว” มหาตมะ คานธี กล่าว... " Earth provides enough to satisfy every man’s need, but not any man’s greed." Mahatma Gandhi said.
.......................................................
- ของแถม -
เข้าใจระบบเศรษฐกิจจาก "วัว" Understand the economic system : Perspective from a cow
เศรษฐกิจ จัดเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่เรียกว่า "เศรษฐศาสตร์" ซึ่งเรียนกันได้ถึงระดับ ด็อกเตอร์ ระบบเศรษฐกิจมีรูปแบบหลากหลาย แล้วแต่สำนัก แล้วแต่ท้องที่ แล้วแต่สังคม แล้วแต่ประเทศ เศรษฐกิจหรือเศรษฐศาสตร์อาจเป็นเรื่องเข้าใจยากสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนมาสายนี้โดยตรงหรือได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พื้นฐานผ่านหูผ่านตามาบ้าง แต่คำอธิบายชุดนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจได้ในทันทีว่า ภาพรวมกว้างๆของระบบเศรษฐกิจแต่ละระบบ-แต่ละประเทศในปัจจุบันว่ามีรูปแบบอย่างไร โดยใช้ตัวอย่างง่ายๆอย่าง "วัว" มาอธิบายให้เห็นภาพ อาจฟังดูขำๆเชิงล้อเลียนบ้าง แต่ก็มีส่วนจริงอยู่ไม่น้อย! ลองดู...
เข้าใจระบบเศรษฐกิจจาก "วัว" Understand the economic system : Perspective from a cow
(- ที่มา ข้อความทั้งหมดข้างล่างนี้ได้จาก : Forward mail -)(โปรดใช้วิจารณญาณด้วยนะครับ...)
ระบบเศรษฐกิจ สังคมนิยม Socialist
คุณมีวัว 2 ตัว และคุณให้เพื่อนบ้าน 1 ตัว
You have two cows and you give one to your neighbor
ระบบเศรษฐกิจ คอมมิวนิสต์ Communist
คุณมีวัว 2 ตัว รัฐเอาไปหมดทั้ง 2 ตัว และให้นมวัวคุณบ้าง
You have two cows.The state takes both cows from you and gives you some milk in return.
You have two cows. The state takes both cows from you and shoots you.
You have two cows. The state takes both ows, kills one, takes milk from the remaining cow but neglect to make use of the milk.
You have 5,000 cows. None of them are yours but you earn fromcharging the fee from cows owner for cow care.
You have two cows for worship.
You have two cows. Both of them are mad.
( Mad cow diseases was first known in the UK )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น