ไทย โอ เอส
ความเป็นมาของ Thai OS
Suriyan เป็นโครงการภายใต้การดูแลของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า ซึ่งเริ่งโครงการเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยเป็นโครงการพัฒนาลินุกซ์เซิร์ฟเวอร์พร้อมใช้ (instant server) ให้ชื่อว่า Suriyan GNU/Linux การพัฒนา Suriyan ในแง่มุมของการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ยังไม่เเพียงพอ อีกทั้งการตอบรับยังไม่กว้างพอ ทำให้การพัฒนาโครงการ Suriyan GNU/Linux ล่าช้าลงและลดบทบาทการพัฒนาในเวอร์ชัน 1.0 สำหรับโครงการ Suriyan GNU/Linux ยังสามารถดาวน์โหลดได้ที่ suriyan.org
ในปี 2550 KDE วางแผนการออกรุ่น 4.0 อีกทั้งยังขาดการปรับปรุงภาษาไทยใน KDE 4.0 Suriyan จึงได้เบนเข็มไปเป็นโครงการพัฒนาภาษาไทยใน KDE โดยใช้ Kubuntu เป็นต้นน้ำและพัฒนาไลบรารีภาษาไทย เพื่อรองรับการแสดงผลและการพิมพ์ภาษาไทยในเบื้องต้น และส่ง patch เข้าไปที่ต้นน้ำ (KDE) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภายในของ KDE การควบรวมทีมพัฒนา KDE เข้ากับทีม Nokia ส่งผลในการรับ patch ล่าช้าและ patch ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกรับเข้าไปยังต้นน้ำ การพัฒนาภาษาไทยบน KDE และการพัฒนาภาษาไทยใน Suriyan ในรุ่นถัดมาจึงล่าช้าลงไปอีก
ในปี 2551 ทีมงาน Thai Open Source.org ซึ่งประกอบด้วยนักพัฒนาอิสระและชุมชนระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ส เห็นว่าโครงการ Suriyan ควรปรับปรุงและจัดทำออกมาให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ต้นปี 2552 จึงได้มีการวางโครงสร้างและการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยศึกษาการพัฒนาจากระบบปฏิบัติการจากชุมชน Ubuntu ในประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้ Suriyan เลือกใช้ Ubuntu ที่ใช้ GNOME เป็น Windows Manager หลัก และเลือกใช้ Club Distro Prompt Edition 9.05 เป็นต้นแบบในการพัฒนา Suriyan 52.0 ในเดือนตุลาคมถัดมา ปัจจุบัน Suriyan ใช้ Ubuntu เป็นต้นแบบในการพัฒนา โดยเพิ่มเติมแอพลิเคชั่น ฟอนต์ภาษาไทย ปรับปรุงเคอร์เนล และส่วนติดต่อผู้ใช้ เพื่อให้เกิดความง่าย ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้ที่ต้องการเปลี่ยนจาก Windows มาใช้งาน Suriyan ได้ง่ายมากขึ้น Suriyan Desktop พัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงรุ่น 53.04
Download ThaiOS ได้ที่ http://thaios.sipa.or.th/
การตอบรับที่ดีจากผู้ใช้ SIPA จึงประกาศการพัฒนา Thai OS โดยเพิ่มความสามารถเพิ่มเติมให้กับระบบปฏิบัติการ Suriyan เดิมเพื่อให้เข้ากับคนไทยได้มากขึ้น เพิ่มฟอนต์ภาษาไทยมาตรฐานกว่า 40 ฟอนต์ ส่วนขยายที่จำเป็นของ FireFox ส่วนขยายเพิ่มเติมของ OpenOffice.org 3.3 พร้อมโปรแกรมสำรองข้อมูลและพื้นเก็บข้อมูลเชื่อมโยงกับ Cloud Storage เพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์ที่มากขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น
................................................
ครม.เห็นชอบให้ทุกส่วนราชการ โละฟอนต์ต่างชาติ บังคับใช้ 13 ฟอนต์ไทยในงานราชการ
ทั้ง นี้ สืบเนื่องจาก ปัจจุบันส่วนราชการจำนวนมากมีการใช้ฟอนต์ที่หลากหลาย ไม่มีมาตรฐานในเอกสารทางราชการ อีกทั้งยังมีหน่วยงานราชการหลายแห่งใช้มาตรฐานฟอนต์ของบริษัทเอกชนที่ผูกขาด ลิขสิทธิ์ เช่น Angsana อาจมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ได้
ด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาและมีการประกวดแข่งขันฟอนต์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้ Open Source Software ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีให้ส่วนราชการไทยประกาศมาตรฐานเอกสารดิจิตัลและรูปแบบ ของฟอนต์ที่ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการและลิขสิทธิ์ของบริษัทใด ๆ เพื่อความภาคภูมิใจในความเป็นชาติและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย ซึ่งในขณะนี้มีฟอนต์ที่ส่วนราชการไทยสามารถเป็นเจ้าของและพร้อมแจกจ่ายให้ กับผู้ประสงค์จะใช้งานรวม 13 ฟอนต์ ดังนี้
ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.f0nt.com/release/13-free-fonts-from-sipa/
พี่สุดยอดเลย
ตอบลบอยากเห็น Life Cycle Management ของ Suriyan (ชื่ออินโดๆ ไงพิกล) อยากให้กำลังใจและสนับสนุน (ทำไปแล้วกับฟอนต์ไทย) ในฐานะที่เป็นผู้ใช้ที่อยากเห็นรัฐเป็นผู้นำทางนโยบายที่แท้จริง กังวลเพราะ Ubuntu ขับเคลื่อนโดย Canonical ซึ่งเป็นธุรกิจเอกชน แม้ว่าผู้เป็นประธานจะร่ำรวยเพียงใดวันหนึ่งก็ต้องหยุด หรือไม่ก็กลายพันธุ์ ไม่ว่ากันที่จะ Based on ซอฟท์แวร์ดีๆ (ผมก็ใช้ Ubuntu เป็นทางการมาตั้งแต่ Intrepid) แต่เราควรพัฒนาไปในแนวทางที่ต้องไม่ตายตามใคร (ตายเองยังมีศักดิ์ศรีมากกว่า)
ตอบลบวันนี้หน่วยงานภาครัฐจำนวนค่อนข้างมากที่ใช้ฟอนต์จากโครงการฟอนต์แห่งชาติ นั่นเป็นผลโดยตรงจากมติครม. และนั่นเป็นตัวอย่างที่ดีของการนำทาง (ไม่ใช่การบังคับ) และหากทำอย่างเดียวกันกับ Suriyan ก็น่าจะได้ผลไปในทางเดียวกัน อัตราการรับรู้และเดินตามจะต่างกันไปทางใดไม่สำคัญ ให้สังคมรับไปพิจารณาเอง สิ่งที่น่าเสียดายคือโอกาสที่บางหน่วยงานทิ้งไป หน่วยงานที่ว่านี้พื้นฐานแกนในนั้นมีความเชี่ยวชาญด้าน Unix เป็นอย่างมาก แต่รอบๆ นอกที่กำลังถูกบังคับให้ต้องเข้าสู่ระบบงานที่เป็น IT นั้นทำงานในระบบ Manual มาค่อนชีวิต แทนที่หน่วยงานจะเดินไปในแนวที่ตนมีความเชี่ยวชาญ หรือใกล้เคียง กลับไปจ้างผู้รับเหมาทำซอฟท์แวร์ต่างชาติมาทำ และได้ผลงานที่เต็มไปด้วยปัญหาทางเทคนิค ผู้ใช้ปลายทางถูกทิ้งให้แก้ปัญหาเองเพราะช่องทางการสื่อสารที่มีอยู่ของหน่วยงานก็ถูกปิด น่าสงสารมากเหตุมาจากการไม่เดินตามทางที่ควรเดิน แต่ผู้รับกรรมคือบุคลากรของหน่วยงานเอง ผู้ขาย OS ก็ร่ำรวย วันนี้มีเวอร์ชั่นใหม่ที่ทิ้งผู้ใช้รุ่นเก่าด้วยวิธีง่ายๆ เปลี่ยนฟอนต์พื้นฐานของระบบ หน่วยงานที่ว่านี้ก็ยังสนับสนุนด้วยการออก Patch ให้กับซอฟท์แวร์ของตน ดูเหมือนกับว่ายังยินดีกับการเป็นทาสกันอยู่ทั้งที่ร่ำเรียนกันมามากมาย
ตอบลบทำไม link มันไม่สามารถเปิดได้
ตอบลบ