วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

นารายณ์อวตารครั้งสุดท้าย


- นารายณ์อวตารปางที่ 10 -
"กัลกยาวตาร" อวตารครั้งสุดท้าย
(นารายณ์อวตารเป็นคติความเชื่อของศาสนาพรามณ์หรือฮินดู ดู 9 ปางก่อนหน้าตามลำดับที่ หมายเหตุท้ายเรื่องด้านล่าง)

บังเอิญได้ดูหนัง VCD อินเดียเรื่อง นารายณ์ 10 ปาง เป็นหนังที่เก่ามากและย่อความรวบรัด เนื่องจากต้องเล่าถึง 10 ปาง ภายในเวลา 2 ชั่วโมง 9 ปางแรก ได้เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ปางที่ชาวไทยเราน่าจะรู้จักกันดี ก็ได้แก่ อวตารปางที่ 7เป็น พระราม ในรามเกียรติ์นั้นเอง ปางที่ 10 กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ส่วนตัวสนใจนารายณ์ปางสุดท้ายนี้เป็นพิเศษ...เพราะเป็นปางที่ยังมาไม่ถึง และมีการ ทำนาย อนาคต!!

ในหนังปางสุดท้ายเป็นฉากการสนทนาระหว่าง...พระนารัท(เทพใกล้ชิดพระนารายณ์) ถามพระนารายณ์ว่า ที่ผ่านมาก็อวตารมาถึง 9 ครั้งแล้ว ถัดจากนี้จะยังมีการอวตารอีกไหม พระนารายณ์ ก็ตอบไปว่า มีอีก และจะเป็นครั้งสุดท้ายของยุคนี้ ก่อนที่จักรวาลจะแตกสลายแล้วเกิดจักรวาลในยุคใหม่ พระนารายณ์ได้บรรยายให้เห็นภาพสถานะการณ์ทั่วไปในโลกก่อนที่จะลงอวตารมาแก้ไขสถานะการณ์ ในรูปแบบของการร่ายเพลงยาวตามแบบฉบับของหนังอินเดีย มีเนื้อหาดังนี้...
---
"ความจริงกลายเป็นเรื่องโกหก
ความยุติธรรมจะล่มสลาย
โลกจะสั่นสะเทือน
ความไม่ยุติธรรมจะครองเมือง
เด็กหนุ่มสาวจะหายสาปสูญ
ผู้คนจะหิวโหย
จะมีแต่ความยากจนและขาดแคลน
โลกจะกลายเป็นเหมือนนรก
นี้คือสัญญาณของการทำลายครั้งสุดท้าย
ในท้ายที่สุดจะเป็นการอวตาลของ กาลกี...
นารายณ์อวตารครั้งที่ 10

ในทุกอย่างมีการโกง
เหตุการณ์ที่กล่าวมาจะเกิดขึ้น
และเพราะเหตุนี้ เด็กๆจะถูกทำให้ได้รับบาดเจ็บ
แต่ยาที่ได้รับก็ไม่ถูกต้องกับอาการ
และคนที่ทำการค้าและธุรกิจต่างๆ
จะได้รับผลประโยชน์จากการโกงเหล่านี้
การบูชาต่างๆ ที่สวยงามด้วยดอกไม้และสิ่งต่างๆ
การบูชาที่ถูกต้อง การบูชาที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประเสริฐ์
จะกลายเป็นการบูชาผี จะกลายเป็นการบูชาต่อเหล่าภูติผีปีศาส
เป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่วัฒนธรรมใหม่
เป็นสัญลักษณ์ของกลียุค
หรือยุคแห่งความมืดมน
ในท้ายที่สุดจะเป็นการอวตารของ กาลกี...
นารายณ์อวตารครั้งที่ 10

คนโกหกขี้โกงจะได้รับความสนุกสนาน
คนรวยจะได้รับความเพลิดเพลิน
ส่วนคนดีคนจนและนักบวช โศกเศร้าเสียใจ
ดาวเคราะห์ทั้งหลายจะรับความหนักไม่ได้
และเกิดภัยธรรมชาติ
ส่วนภูติผีปีศาสทั้งหลายจะเต้นด้วยความดีใจ
ภูเขาโลกทั้งหลายจะเกิดแผ่นดินไหว
ปีศาจออกมาเต้น
ไฟแห่งความโกรธจะบดขยี้โลกเป็นเสี่ยงๆ
พายุฝนจะทำลายป่าและทะเลจะท่วมเมืองและจะกลืนโลก
ในท้ายที่สุดจะเป็นการอวตารของ กาลกี
นารายณ์อวตารครั้งที่ 10"
---
หนังจบลงแค่นี้ พระนารายณ์ไม่ได้บอกรายละเอียดต่อว่า เมื่ออวตารเป็น อัศวินขี่ม้าขาวนามกาลกีแล้ว จะจัดการกับวิกฤติโลกที่ว่าด้วยวิธีการใดและอย่างไร คงต้องรอดูเมื่อท่านมาถึง :)
---
...........................................

***หมายเหตุ : พระนารายณ์ อวตาร 9 ปางก่อนหน้า

1. มัตสยาวตาร (อวตารเป็นปลา) เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์และสัตว์ให้พ้นจากน้ำท่วมโลก

2. กูรมาวตาร (อวตารเป็นเต่า) เพื่อช่วยเหล่าเทวะและอสูรกวนเกษียรสมุทรปาง

3. วราหาวตาร (อวตารเป็นหมูป่า) มีสองตำนานหลักๆคือ 1) เพื่อปราบอสูรนาม"หิรัณยากษะ"ซึ่งลักเอาแผ่นธรณีไปโดยการม้วนแล้วเหน็บไว้ ที่ข้างกาย และ 2) เพื่อยุติการประลองพลังอำนาจกันระหว่าง พระศิวะ และ พระพรหม

4. นรสิงหาวตาร (อวตารเป็นครึ่งคนครึ่งสิงห์) เพื่อปราบอสูรนาม "หิรัณยกศิปุ" ผู้เป็นน้องชายของ "หิรัณยากษะ"

5. วามนาวตาร (อวตารเป็นพราหมณ์เตี้ย) เพื่อปราบอสูรนาม "พาลี" ผู้เป็นเหลนของ "หิรัณยกศิปุ"(ในปางที่ 4)

6. ปรศุรามาวตาร (อวตารเป็นพราหม์ผู้ใช้ขวานเป็นอาวุธ) เพื่อปราบกษัตริย์ (ผู้เป็นมนุษย์) นาม "พระเจ้าอรชุน" หรือ "พระเจ้าสหัสอรชุน" ผู้มีใบหน้า 1พันหน้า ผู้ก่อยุคเข็ญ ขูดรีดประชาชีและทำลายล้างศาสนา

7. รามาวตาร หรือ รามจันทราวตาร(อวตารเป็นพระราม กษัตริย์แห่งอโยธยา) เพื่อปราบอสูรนาม "ราวณะ" หรือ "ราพณ์" หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม "ทศกัณฐ์" กษัตริย์ แห่งกรุงลงกา - ปางนี้เป็นหลักในการจัด จารีต และ ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมของสังคมอินเดีย-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับมาจากอินเดียอีกที ดังที่เห็นหลักฐานกันอยู่ปะปนกับคติพุทธ ตามวัดวาอารามโบราณสถานทั่วไปในภูมิภาคนี้

8. กฤษณาวตาร (อวตารเป็นพระกฤษณะ) เพื่อขับรถม้าให้ "พระอรชุน" และสอนปรัชญาชีวิต-โลก-จักรวาล ให้แก่พระอรชุน เพื่อปลุกเร้าให้มีใจต่อสู้ในสงคราม คำสอนกลายเป็น คัมภีร์ "ภควัทคีตา" ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา

9. พุทธาวตาร (อวตารเป็นพระพุทธเจ้า) ชาวฮินดูมีความเชื่อว่าพระนารายณ์อวตารในปางนี้เพื่อหลอกลวงให้พวกนอกรีตที่ไม่นับถือระบบวรรณะแยกออกไปจากศาสนาพราหมณ์ ; ในบางแห่งเชื่อว่าปางที่เก้านี้คือ พลรามาวตาร (อวตารเป็นพลราม) หรือพระพลรามซึ่งเป็นพี่ชายของพระกฤษณะ เป็นการอวตารคู่กับพระกฤษณะ.... *** คติความเชื่อปางนี้ ชาวพุทธต่อต้าน และถือเป็นการกล่าวตู่จงใจทำลายพุทธศาสนา เกิดจากพวกที่ต้องการยุยงให้เกิดความแตกแยก รวมทั้งเป็นความตั้งใจจะกลืนพุทธให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพรามณ์หรือฮินดู

13 ความคิดเห็น:

  1. ตอนนี้ก็เข้ายุกกาลกี แล้วจ้า

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ25 เมษายน 2553 เวลา 16:25

    เออ จริง

    ตอบลบ
  3. นารายณ์สิบปางนี้ ถ้าพิจารณาในด้านวรรณกรรมจะเห็นพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตคือมนุษย์ นับตั้งแต่สัตว์น้ำ(ปลา) มาครึ่งบกครึ่งน้ำ(เต่า) หมู สัตว์บก
    จนมาเป็น คนครึ่งสิงห์ คนแคระ(พราหมณ์เตี้ยวามน) คนป่า ปรศุราม
    กษัตริย์เดินป่า (พระราม) กษัตริย์ที่มีเมียมาก(พระกฤษณะ)มาเป็น นักบวชออกไปสู่ป่า(พระพุทธเจ้า) ถ้ามองในแง่ดี ศาสนาพราหมณ์ให้เกียรติพุทธศาสนามาก ถึงขนาดให้พระพุทธเจ้ามาเป็นสัญลักษณ์ในวรรณกรรม
    แต่ถ้ามองในแง่ร้าย นี่คือ การแข่งขันทางวรรณกรรม ในยุคมหากาพย์ อย่าลืมว่าศาสนาพุทธมี ทศชาติ พราหมณืก็มี นารายณ์สิบปาง
    คำทำนายนี้ พระพุทธเจ้าเองก็ทำนายความฝันไว้กับพระเจ้าปเสนทิ 16ฝันว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตกาล ซึ่งตอนนี้เองก็คืออนาคตของอดีตที่ทำนายนั้น ไม่ว่าพราหมณ์ พุทธ คริสต์ ต่างมีคำทำนายอนาคตที่กำลังเกิด ดังนั้นอย่ายึดติดว่าเป็นของศาสนาใด
    พระกัลกี นี้ถ้าจะตีความว่าพระนารายณ์อวตารปางนี้คือใคร พราหมณ์อาจตีความว่า "ใครก็ได้"ที่สามารถแก้ปัญหาของโลกที่วุ่นวายให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ตอนนี้ก็มีให้เห็นหลายคนในโลก
    อัศวินขี่ม้าขาว คือคำที่มาจากพระนารายณ์อวตารปางนี้ คิดเล่นๆนะครับ ถ้าเป็นบุรุษขี่ม้าขาวถือดาบมาช่วยโลกในอนาคตจริงอาจตายก่อนเพราะโดนยิงจากปืนที่มีอานุภาพมากกว่า ดังนั้นปางที่จะเกิดในอนาคต อาจจะเป็นใครก็ได้ที่มาแก้ปัญหาให้โลก ถ้าเป็นของพุทธ คือ พระศรีอาริยเมตไตร
    ผมตีความแบบนี้นะครับ เห็นด้วยหรือเปล่า

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
    2. อาจจะเป็นเฟอรรารี่ สีขาวก็เป็นได้

      ลบ
    3. ท่านอาจลงมาอวตาลเป็นพระยาธรรมิกราชก็ได้...ลงมาปราบยุคเข็ญ...คือมาช่วยผุ้ทุกข์ยากยุคกึ่งพุทธกาล...

      ลบ
  4. ครับเห็นด้วยกับคุณเยียร์

    การขี่ม้าขาวถือดาบ เป็นแค่ อุปมาเชิงวรรณกรรม ไม่ได้หมายความว่า ต้องขี่ม้า ถือดาบ จริงๆ แก่นสาระ อยู่ที่การ แก้ปัญหาปราบยุคเข็ญ ต่างหาก

    ตอบลบ
  5. ทีกล่าวมาทั้งหมดน่าสนใจมากค่ะ แต่อีกหัวข้อก็เป็นสิ่งหนึ่งที่น่าสงสัยว่าเหตุฉไน ปัจจุบันนี้ที่เห็นตำหนักเทพฮินดูหรือเทวะสถานอื่นๆ ที่มีคนที่เป็นร่างทรงขององค์เทพองค์ใดๆกตามบ้างก็มากกว่าหนึ่งพระองค์ มีผู้คนแห่แหนไปกราบไหว้ขอโน่นขอนี่เป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาต่อผู้ที่ประสบความสำเร็จจากคำขอ บ้างผู้ที่ไปหาเพื่อขอพรที่ประสบปัญหานานับประการอย่างน่าสงสารบ้างพวกเขาเหล่านั้นเองนั่นเล่ากลับกลายเป็นว่าก็มีองค์เทพองค์โน่นองค์นี้ มาจับจองร่างกาย จึงได้รับคำแนะนำว่าองค์เทพเขามาสำแดงเดชให้ร่างได้ร่ำรวยสุขสบายได้ก็ทำให้ล่มจมหมดสิ้นได้เช่นกัน บางรายไม่เชื่อไม่ยอมรับก็ถึงเป็นบ้าเป็นบอ สติสตังหลุดกระเจิงแบบไร้เหตุผล แต่ถ้าร่างยอมรับและปติบัติให้แก่องค์เทพองค์นั้นๆ ทุกสิ่งทุกอย่างกลับดีขึ้นและดีขึ้นอย่างที่ถูกกล่าวทักและแนะนำแต่ต้น และยังมีตัวอย่างมากมายที่น่าเหลือเชื่อให้ได้เห็น ทั้งยังได้รับรู้ประสบการณ์อื่นๆของผู้คนมากหน้าหลายตา ที่มาจากคนละทิสทาง
    ซึ้งมาพบปะกัน ณ.สำนักหรือตำหนักเทพอันโด่งดัง แต่เมื่อใดที่มีงานปีที่เหล่าองค์เทพทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อยได้มาชุมนุม มีทั้งภารตะดนตรี มีทั้งการสำแดงเดชสาระพัดสาระพัน แต่เหล่ามักไม่สนทนาเรื่องเกี่ยวกับการอวตารปางใดๆ
    คงเพราะมัวสารวนกับการอำนวยพรให้แก่ ขำขอและความต้องการมากมายของมนุษย์

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช้ปัญญาและใจมอง ... เทพท่านส่วนมาก มักจะชอบบำเพ็ญภาวนา ... ท่านถึงได้เป็นเทพอยุ่ชั้นพรหมณ์ ...ส่วนใครจะอ้างว่าเป็นเทพองค์นั้นองค์นี้.... พิจารณาเอา ... ไม่อะไรได้มาฟรีๆ

      ลบ
  6. ใครก็ได้ ที่ทำไห้ทั้งโลกอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ทำไห้จิตใจตกตำ แค่นี้ก็พอแล้วครับ

    ตอบลบ
  7. ใครก็ได้ ที่ทำไห้ทั้งโลกอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ทำไห้จิตใจตกตำ แค่นี้ก็พอแล้วครับ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ8 กันยายน 2559 เวลา 08:09

    ขุนแผน 555+

    ตอบลบ
  9. ผมว่าที่คนไทยพุทธเรา ยังสับสนอยู่และต่อต้านเรื่องนี้ เช่นการเข้าใจและเรียกเหมารวมว่า พระอิศวร,พระนาราย,พระอินทร์,มหาเทพ,ท้าวสักกะ คือ พระองค์ เดียวกัน เพราะยึดติดจาก ภาพวาดจิตกรรมฝาผนังที่ องค์ราม มีวรกายสีเขียว องค์อินทร์มีพระวรกายขียว พระนารายวรกายเขียวซึ่งไม่ใช่ พระอิศวรคือพระ ศิวะมหาเทพ เช่นเดียว กับพระนารายซึ่งมี4กรถือตรี คฑา จักร สังข์ ทรงครุฑ แต่มีบางตำรากล่าวว่าพญาครุฑเป็นพาหนะของ พระอินทร์หรือท้าวสักกะเทวราช ซึ่งความจริง มีช้างเอราวัณฑ์เป็นพาหนะ ความเชื่อนี้อยู่ในหนังจักรๆวงค์บ้านเรา
    เลยคิดไปกันไปว่าเป็นเทพ ต่างศาสนา
    ความจริงๆกิดจากได้ศึกษาเรื่องราว ความเชื่อ
    คลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนไปตามกาลเวลา อาจมีขาด
    มีแต่งเติม ดังที่พระพุทธองค์ทรงต้องการให้มนุษย์ใช้ปัญญาค้นหาข้อมูลที่ถูกต้อง

    ตอบลบ