วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ทฤษฏีไร้ระเบียบ(ChaosTheory)


ถ้าจะหา ทฏษฏีที่อธิบายปรากฏการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆในเชิงโครงสร้างกว้างๆในทุกๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น เรื่อง ชีวิต การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ระบบโลก ฯลฯ ทฤษฏี Chaos Theory หรือที่เรียกเป็นไทยว่า "ทฤษฎีไร้ระเบียบ" หรือ "ทฤษฏีโกลาหล" (แต่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า ทฤษฎีไร้ระเบียบมากว่า) ดูจะเป็นทฤษฎีที่ให้ภาพได้ชัดเจนแจ่มชัดและครอบคลุมที่สุด ณ ขณะนี้

ก่อนจะเข้า ทฤษฏี "ไร้ระเบียบ" ทำความเข้าใจกับคำ "ระเบียบ" ก่อน

ระเบียบ (Order) เป็นศัพท์เชิงเทคนิค ความหมายอธิบายง่ายๆก็คือ รูปแบบ ระบบ หรือ แบบแผน อาทิ รูปแบบสังคม รูปแบบการดำเนินชีวิต รูปแบบการเมือง ฯลฯ



Order มีทั้งระเบียบในธรรมชาติ เช่น กฏธรรมชาติต่างๆ อาทิ การเปลี่ยนจากหนอนเป็นผีเสื้อ, วิวัฒนาการของสัตว์, น้ำกลายเป็นน้ำแข็งที่อุณหภูมิ 0 องศา ฯลฯ ซึ่งเป็นกฏถาวรไม่เปลี่ยนแปลง และระเบียบสมมุติที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย.. ตัวอย่าง เช่น กรณี...เมื่อระบบการปกครองการเมืองแบบเก่าล้าหลังไม่มีประสิทธิภาพ-ไม่ก้าวหน้า ไม่สอดคล้องกับสภาพและเหตุปัจจัยอื่นๆที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ก็ไม่สามารถทนทานอยู่ได้ ในที่สุดก็จะต้องมีการปรับรูปแบบ แต่การเปลี่ยนระเบียบจากเก่าไปใหม่นั้นโดยทั่วๆไปนั้นก็ใช่ว่าจะเปลี่ยนกันแบบง่ายๆดื้อๆหักดิบได้ ต้องมีช่วงเปลี่ยนผ่านไปก่อนนั้นคือ ช่วงของ Chaos!! หรือภาวะไร้ระเรียบเกิดขึ้นก่อนเสมอ อาจมีการต่อสู้กันระหว่าง กลุ่มการเมืองระบบเก่ากับระบบใหม่ ช่วงชิงกัน สลับกันแพ้ชนะ จนในที่สุดสิ่งที่ล้าหลังกว่าไม่มีประสิทธิภาพก็ต้องล้มหายตายจากไป เปิดทางให้สิ่งใหม่ที่ดีกว่าก็เข้ามาแทนที่ ตรงจุดนี้จะเห็นว่าสอดคล้องกับทฏษฎี การคัดเลือกตามธรรมชาติของ ดาร์วิน ( *รายละเอียดเพิ่มเติม ดูหัวข้อ ชาลส์ ดาร์วิน "ฤามนุษย์เป็นได้แค่สัตว์ร้าย" )

ลำดับการเปลี่ยนแปลงในทฤษฏีไร้ระเบียบ มีโดยย่อ ดังนี้
1.ระเบียบเดิม
2.ดำเนินไปเรื่อยๆอย่างราบเรียบ จนเมื่อมีเหตุการณ์ที่ต้องเปลี่ยนแปลง...
3.ไร้ระเบียบโกลาหล
4.ทางแพร่ง
5.จัดตั้งระเบียบใหม่ : ตรงจุดที่เกิดระเบียบใหม่นี้บางทีเมื่อเราเห็นการเปลี่ยนแปลงใหม่เกิดขึ้น เราอาจคิดว่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน แบบผ่าเหล่า(Mutation) แต่ในความเป็นจริง ย่อมมีเหตุที่ค่อยๆก่อตัวค่อยๆเปลี่ยนมาแล้วก่อนหน้า ตามขั้นตอนข้อ 1-3 ที่มีมาอยู่ก่อน เพียงแต่เราอาจไม่รู้ตัว ให้ความใส่ใจน้อยหรือไม่มีความรู้พอ เช่น กรณีการเกิด สึนามิ ดูเหมือนเกิดแบบ ฉับพลัน แต่จริง แผ่นเปลือกโลก ได้ค่อยๆเปลี่ยนแปลงเคลื่อนตัวมานานแล้ว จนเมื่อเคลื่อนที่ถึงจุดหนึ่งก็เกิดผลเป็น สึนามิ
6.ระเบียบใหม่ (ซึ่งจะกลายเป็นระเบียบเก่าในเวลาต่อมา)
7.ระเบียบเริ่มสั่นคลอน เริ่มเข้าสู่ความไร้ระเบียบ(เข้าสู่วงจรเดิมจากข้อ 1-3 ต่อๆไปเป็นวัฏจักร)

.......................................................


ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆในชีวิตประจำวัน เช่น
1.เริ่มเข้าเรียนมหาลัย (เข้าสู่ระเบียบ)
2.เรียนๆไปเรื่อยๆ จะเห็นว่าช่วงนี้โดยรวมจะเป็นไปอย่างสงบราบเรียบ
3.เรียนปีสุดท้ายจบการศึกษา ชีวิตเริ่มวุ่นวายโกลาหล เพราะต้องหางานทำ ย้ายที่อยู่ ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเริ่มเกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดทางเลือกที่ต้องตัดสินใจ ที่เรียกในขั้นต่อไปว่า "ทางแพร่ง"
4.พบทางแพร่ง ตอนนี้สำคัญ เพราะเป็นตัวกำหนดหน้าตาของระเบียบใหม่คือ ต้องเลือกในหลายด้านเช่น จะทำงานก่อน หรือ เรียนต่อ หรือ บวช หรือ แต่งงานก่อน ฯลฯ สมมุติถ้าเลือกที่จะทำงาน ก็จะมีทางแพร่งซ้อน เช่น จะเลือกที่ไหน งานแบบไหน ฯลฯ
5.หลังจากเลือกจาก ข้อ 4.ได้แล้ว สมุมุติว่าเลือกที่จะทำงานในบริษัท ก็ต้องละทิ้งระเบียบเก่า คือการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย เริ่มค่อยจัดตั้งเข้าสู่ ชีวิตการทำงานในระบบลูกจ้าง จึงต้องมีการค่อยปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในหลายด้าน
6.ถึงขั้นนี้ก็ได้มีชีวิตเป็น พนักงานบริษัท อย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะดำเนินไปเรื่อย อย่างราบเรียบสงบ จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆเข้ามา...
7.เริ่มเบื่อ และเห็นว่า ชีวิตลูกจ้างไม่ก้าวหน้าไม่อิสระเลยคิดลาออก มาทำกิจการส่วนตัวจากตัวอย่างที่ยก เมื่อมาถึงข้อ 7. ก็จะกลับเข้าสู่วงจรเดิม คือ เข้าสู่ ความโกลาหล ต้องลาออกจากงาน ย้ายที่อยู่ กู้เงินทำธุรกิจ ฯลฯ

จะพบว่า จุดสำคัญที่จะกำหนดชีวิตเป็น order ไหน มีอยู่ 2 จุดคือ จุดไร้ระเบียบ และ ทางแพร่ง คือ ถ้าไม่มีจุดที่ ไร้ระเบียบโกลาหล ก็จะไม่มีการริเริ่มเปลี่ยนแปลง (อย่างน้อยที่สุดก็ โกลาหลทางความคิด) ส่วนทางแพร่ง เป็นจุดที่ต้องตัดสินใจว่า จะเอาแบบไหนจะไปซ้ายหรือขวา!! เลือกดีก็ดีไป แต่ถ้าพลาดก็อาจเจ็บตัวยาว!! และจุดทางแพร่งนี้ เป็นจุดที่อ่อนไหวมาก ปัจจัยที่อาจดูเล็กน้อย ไม่สำคัญ อาจเป็นเหตุหลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ที่เรียกว่า Butterfly effect : ผีเสื้อกระพือปีกก่อให้เกิดพายุใหญ่ หรือ "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" เช่นช่วงเวลาที่กำลังตัดสินใจเลือกงานในบริษัทแห่งใดแห่งหนึ่ง บังเอิญเกิดไปนั้งรถไฟฟ้า แล้วได้ยินคนข้างๆคุยกันถึงบริษัทที่เรากำลังเลือกแห่งหนึ่งว่า "ตอนดึกๆมีผีดุ" เรื่องเล็กแค่นี้ เราอาจโลเลที่จะตกลงเลือกทำงานที่นี้แล้ว ถึงแม้เราไม่ได้สนใจเรื่องผีก็ตาม...